วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แสดงภาวะแบตเตอรี่แรงดันต่ำ

แสดงภาวะแบตเตอรี่แรงดันต่ำ



วงจรนี้ใช้ได้กับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 5โวลท์จนถึง 25V เมื่อแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟหรือแบตเตอรี่ ตกลงมาต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ จะทำให้ LED สว่างแสดงให้รู้ แม้ว่าวงจรนี้ใช้อุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น แต่ก็มีเสถียรภาพและแม่นยำในการทำงานดีพอสมควร เนื่องจากใช้ไอซี โวลเตจดีเทคเตอร์เบอร์ 8211 ที่นำมาต่อเป็นวงจรเปรียบเทียบแรงดัน มีแรงดันเปรียบเทียบที่แน่นอนอยู่ภายในตัวไอซี การใช้ปรับแต่ง VR1 ให้แรงดันสูงกว่าแรงดันเปรียบเทียบเล็กน้อย เมื่อระดับแรงดันแบตเตอรี่ต่ำลง LED ก็จะสว่างในทันที 

ที่มา

Battery Low Voltage Detector using IC 8211


วงจรปรีแอมป์เอนกประสงค์ใช้ไอซีเบอร์ NE5532

วงจรปรีแอมป์เอนกประสงค์ใช้ไอซีเบอร์ NE5532

วงจรปรีแอมป์เอนกประสงค์นี้เป็นวงจรที่ใช้งานง่ายและยังสามารถใช้งานได้กับอินพุตชนิดต่างๆ ได้ถึง 4 อินพุต ได้แก่ ตำแหน่งที่ 1 สำหรับไมโครโฟนที่มีความไวสัญญาณประมาณ 50 mV
ตำแหน่งที่ 2 สำหรับเทปที่มีความไวสัญญาณประมาณ 100 mV. ตำแหน่งที่ 3 สำหรับจูนเนอร์ ที่มีความไวสัญญาณประมาณ 300 mV.ตำแหน่งที่ 4 สำหรับ ซีดี ที่มีความไวสัญญาณประมาณ 500 mV. ทั้งนี้วงจรจะขยายให้สัญญาณเอาต์พุตออกที่ 1 Vrms. สัญญาณที่ได้นี้จะมีระดับสัญญาณที่แรงพอที่จะไปขับให้กับพาวเวอร์แอมป์.
วงจรนี้ใช้ไอซีออปแอมป์เบอร์ NE5532 ซึ่งภายในเป็นแบบคู่ (Dual Opamp) สามารถต่อใช้งานแบบสเตอริโอได้. โดยสามารถต่อใช้งานจากขาที่เหลือตามรูปโครงสร้างไอซี NE5532
หลักการทำ งานของวงจรก็คือ เมื่อมีสัญญาณอินพุตเข้ามา R1 และ C1 จะคัปปลิ้งและกรองสัญญาณเสียงเข้ามาทางขา 3 อินพุตของ IC1 ซึ่งจะขยายสัญญาณแบบนอนอินเวอร์ติงหรือขยาย
สัญญาณแบบไม่กลับเฟสออกไปยัง เอาต์พุตขา 1 โดยมี R3, R4, R5, R6 และ R2 เป็นตัวกำหนดอัตราการขยายและมีสวิตช์ S1 (Selector) ไว้เลือกช่องตำแหน่ง ซึ่งแต่ละช่องตำแหน่งจะรับความ
แรงของสัญญาณอินพุตที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าเลือกไปยังตำแหน่งที่ 1 จะรับความแรงของสัญญาณที่ 50 mV และสามารถคำนวณหาอัตราขยายทางเอาต์พุตได้จาก AV = (R3/R2)+1= 21 เท่า
จาก นั้นก็นำไปคูณกับความแรงของสัญญาณอินพุตที่ป้อนเข้ามาก็จะได้เป็นความแรงของ สัญญาณที่ออกทางเอาต์พุต ซึ่งในแต่ละตำแหน่งของอินพุตจะให้สัญญาณเสียงเอาต์พุตออกมาที่ความแรง
1 Vrms.

ที่มา

Pre amp ic multi-purpose by NE5532




วงจรเบาซ์เลส สวิตช์ โดยใช้ CD4049

วงจรเบาซ์เลส สวิตช์ โดยใช้ CD4049

นี่เป็นวงจร bounceless switch อย่างง่าย ในลักษณะสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีคุณภาพสูง และสัญญาณรบกวนต่ำ เหมาะสำหรับระบบดิจิตอล หากนำสวิตช์ปกติใช้กับวงจรดิจิตอล มักจะมีปัญหาสัญญารบกวนง่าย ทำให้วงจรทำงานผิดพลาดได้ วงจรนี้ใช้ไอซีดิจิตอลเบอร์ CD4049 Hex Inverting Buffer 
จัดวงจรทำงานแบบ RS flip-flops ทำให้สัญญาณออกมามีความแน่นอนสูง อุปกรณ์เสริมก็ใช้เพียงตัวต้านทานเพียง 2 ตัวเท่านั้น รายละเอียดอื่นๆ ดูในวงจรได้ครับ

ที่มา

simple bounceless switch using CD4049



 

วงจรเตือนตรวจระดับน้ำ ด้วยไอซี LM380

วงจรเตือนตรวจระดับน้ำ ด้วยไอซี LM380



นี่เป็นวงจร Water Sensor Alarm สำหรับเตือนระดับน้ำ โดยเมื่อจุดเซ็นเซอร์สัมผัสน้ำ วงจรก็จะมีเสียงดังเตือนให้ได้ยินทันที โดยวงจรนี้ใช้ไอซี LM380 ปกติใช้เป็นไอซีขยายเสียงขนาดเล็ก หาซื้อง่าย ใช้งานไม่ยาก สำหรับลำโพงเพื่อนๆ เลือกใช้ขนาดเล็ก 8 ohm ก็ได้ สำหรับแหล่งจ่ายไฟใช้ขนาด 9V ถึง 12V ก็ได้ครับ รายละเอียดอื่นๆ ดูในวงจรดีกว่าครับ

ที่มา

Water Sensor Alarm using LM380

วงจรแอมป์เสตอริโอใช้ IC TDA2822

วงจรแอมป์เสตอริโอใช้ IC TDA2822

วงจรนี้จะ stereo power amplifier โดยใช้ ไอซี เบอร์ TDA2822 ภายในเป็นแบบ Dual Amp ให้ยpower watt ที่ 1W +1W อัตราการขยายที่ 40 dB bandwidth ที่ 120 kHz ใช้ power supply
ตั้งแต่ 1.8-15 volt และใช้ current 6 mA
ป้อน power supply 9 volt เข้าวงจร C7 จะทำหน้าที่กรองระดับไฟให้เรียบแล้วจึงไปป้อน power supply ให้กับ IC1 ที่ขา 2 input signal ทางซ้ายและขวาที่เข้ามาจะผ่าน VR1 และ VR2 เพื่อ
ปรับลด ระดับความดังของเสียงแล้ว coupling ผ่าน C1 และ C2 จากนั้นผ่านไปเข้า input ของ IC1 ที่ขา 7, 8, 6 และ 5 ตามลำดับ จากนั้นสัญญาณที่ถูกขยายแล้วจะออกทางขา 1 ซึ่งเป็น output
ของช่อง สัญญาณทางซ้าย และทางขา 3 เป็น output ของช่องสัญญาณทางขวา โดยสัญญาณ output ของช่องซ้ายและช่องขวาจะผ่าน C3 และ C4 signal coupling เข้าลำโพง โดยมี R1,C5
และ R2, C6 ทำหน้าที่กำจัดสัญญาณรบกวนของแต่ละช่องสัญญาณออก
ที่มา

Stereo audio amplifier using ic TDA2822



 

กล่องดนตรีเอนกประสงค์ด้วยไอซี M3481

กล่องดนตรีเอนกประสงค์ด้วยไอซี M3481

นี่เป็นวงจรกล่องดนตรีเอนกประสงค์ ที่น่าสนใจ เพราะใช้ไอซีสำเร็จรูป จึงสร้างง่ายและราคาประหยัด
การทำงานของวงจร คือ อุปกรณ์หลักของวงจรนี้คือ IC1. ซึ่งเป็นไอซีกำเนิดเสียงเพลง ในเทศกาลคริสต์มาส. มันมีเสียงดนตรีทั้งหมด 8 เพลง. เมื่อต่อแหล่งจ่ายไฟ LDR1 ได้รับแสงจะทำให้แรงดันที่ตกคร่อม R1 มีมากพอที่จะทำให้ IC1 ทำงาน. จึงมีเอาต์พุตออกไปกระตุ้นขา 11 และขา 12 ไปกระตุ้นขา B ของ Q1 และ Q2 ให้ขยายกระแสที่จะนำมาขับลำโพง. ในขณะที่วงจรทำงาน ถ้าสวิตช์ S1 เชื่อมต่อจะทำให้เล่นเพลงซ้ำเพลงเดียวไปเรื่อย ๆ แต่ถ้า S1 ไม่ได้เชื่อมต่อ วงจรจะเล่นเพลงทั้งหมด. แต่ถ้าเชื่อมต่อสวิตช์ S2 เข้ากับวงจร. เมื่อไม่มีแสงจะหยุดเล่นเพลงในทันที. แต่ถ้าสวิตช์ S2 ไม่เชื่อมต่อ ่และไม่มีแสงเพลงจะไม่หยุดจนกว่าจะเล่นเพลงนั้นจบ. สวิตช์ S3 มีหน้าที่ในการเลือกเพลง เมื่อกด 1 ครั้งจะเลื่อนไปหนึ่งเพลง. นอกจากนี้ยังมี VR1 จะเป็นตัวควบคุมโทนเสียง ถ้า VR1 มีความต้านทานน้อยจะเป็นการลดโทนเสียงให้ต่ำลง และเพลงก็จะเล่นช้าลงด้วย. R6, C3 จะทำหน้าที่แต่งเสียงให้นุ่มนวลยิ่งขึ้น. R7 คอยป้อนกลับเพื่อควบคุมเสถียรภาพไฟฟ้ากระแสตรงทางเอาต์พุตของวงจร.

ที่มา

Music box versatile using IC M3481




วงจรดีซีมอเตอร์คอนโทรลเลอร์ด้วยเอสซีอาร์และไอซีซีมอส

วงจรดีซีมอเตอร์คอนโทรลเลอร์ด้วยเอสซีอาร์และไอซีซีมอส

วงจรควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟตรง 12 โวลต์ ซึ่งสามารถปรับความเร็วในการหมุนของแกนมอเตอร์ตั้งแต่ 5-60 รอบต่อนาที 
การทำงานของวงจรมี IC1 ซึ่งเป็นไอซีชนิดแอนด์เกต รับแรงดันที่ผ่านออกจากบริดจ์ไดโอด BD1 และยังไม่มีการกรองกระแสให้เรียบ โดยที่แรงดันส่วนหนึ่งจะเข้ามาทางขา 1 โดยตรง อีกส่วนจะแยกเข้าที่ขา 2 ซึ่งมี VR1, C1 และ R1 เป็นวงจรเลื่อนเฟสหรือหน่วงเวลาให้ช้าลง แรงดันที่ออกมาจากขา 3 จะไปกระตุ้นหรือทริกขาเกตของเอสซีอาร์ SCR1 ให้ทำงานหรือนำกระแสให้กับมอเตอร์และทำให้มอเตอร์หมุน อัตราความเร็วของมอเตอร์จะเกิดจากการปรับ VR1 
ไฟเลี้ยงที่ป้อนเข้าขา 14 ของ IC1 จะถูกกรองกระแสให้เรียบก่อน โดยผ่าน D2 และ C2 ส่วน D1 เป็นตัวกันสัญญาณรบกวนวงจรที่เกิดจากมอเตอร์ และ D3 เป็นตัวป้องกันแรงดันย้อนกลับจากมอเตอร์ซึ่งอาจทำให้วงจรเสียหายได้ ถ้ามีการนำวงจรนี้ไปใช้กับมอเตอร์ที่กินกระแสสูง ๆ ควรมีการติดแผ่นระบายความร้อนให้กับ BD1, D1 และ SCR1 เพราะอุปกรณ์พวกนี้จะเกิดความร้อนขึ้นมา ถ้าเราไม่ติดจะทำให้อุปกรณ์เกิดเสียได้ อันเนื่องมาจากระบายความร้อนไม่ทัน