วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แสดงภาวะแบตเตอรี่แรงดันต่ำ

แสดงภาวะแบตเตอรี่แรงดันต่ำ



วงจรนี้ใช้ได้กับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 5โวลท์จนถึง 25V เมื่อแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟหรือแบตเตอรี่ ตกลงมาต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ จะทำให้ LED สว่างแสดงให้รู้ แม้ว่าวงจรนี้ใช้อุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น แต่ก็มีเสถียรภาพและแม่นยำในการทำงานดีพอสมควร เนื่องจากใช้ไอซี โวลเตจดีเทคเตอร์เบอร์ 8211 ที่นำมาต่อเป็นวงจรเปรียบเทียบแรงดัน มีแรงดันเปรียบเทียบที่แน่นอนอยู่ภายในตัวไอซี การใช้ปรับแต่ง VR1 ให้แรงดันสูงกว่าแรงดันเปรียบเทียบเล็กน้อย เมื่อระดับแรงดันแบตเตอรี่ต่ำลง LED ก็จะสว่างในทันที 

ที่มา

Battery Low Voltage Detector using IC 8211


วงจรปรีแอมป์เอนกประสงค์ใช้ไอซีเบอร์ NE5532

วงจรปรีแอมป์เอนกประสงค์ใช้ไอซีเบอร์ NE5532

วงจรปรีแอมป์เอนกประสงค์นี้เป็นวงจรที่ใช้งานง่ายและยังสามารถใช้งานได้กับอินพุตชนิดต่างๆ ได้ถึง 4 อินพุต ได้แก่ ตำแหน่งที่ 1 สำหรับไมโครโฟนที่มีความไวสัญญาณประมาณ 50 mV
ตำแหน่งที่ 2 สำหรับเทปที่มีความไวสัญญาณประมาณ 100 mV. ตำแหน่งที่ 3 สำหรับจูนเนอร์ ที่มีความไวสัญญาณประมาณ 300 mV.ตำแหน่งที่ 4 สำหรับ ซีดี ที่มีความไวสัญญาณประมาณ 500 mV. ทั้งนี้วงจรจะขยายให้สัญญาณเอาต์พุตออกที่ 1 Vrms. สัญญาณที่ได้นี้จะมีระดับสัญญาณที่แรงพอที่จะไปขับให้กับพาวเวอร์แอมป์.
วงจรนี้ใช้ไอซีออปแอมป์เบอร์ NE5532 ซึ่งภายในเป็นแบบคู่ (Dual Opamp) สามารถต่อใช้งานแบบสเตอริโอได้. โดยสามารถต่อใช้งานจากขาที่เหลือตามรูปโครงสร้างไอซี NE5532
หลักการทำ งานของวงจรก็คือ เมื่อมีสัญญาณอินพุตเข้ามา R1 และ C1 จะคัปปลิ้งและกรองสัญญาณเสียงเข้ามาทางขา 3 อินพุตของ IC1 ซึ่งจะขยายสัญญาณแบบนอนอินเวอร์ติงหรือขยาย
สัญญาณแบบไม่กลับเฟสออกไปยัง เอาต์พุตขา 1 โดยมี R3, R4, R5, R6 และ R2 เป็นตัวกำหนดอัตราการขยายและมีสวิตช์ S1 (Selector) ไว้เลือกช่องตำแหน่ง ซึ่งแต่ละช่องตำแหน่งจะรับความ
แรงของสัญญาณอินพุตที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าเลือกไปยังตำแหน่งที่ 1 จะรับความแรงของสัญญาณที่ 50 mV และสามารถคำนวณหาอัตราขยายทางเอาต์พุตได้จาก AV = (R3/R2)+1= 21 เท่า
จาก นั้นก็นำไปคูณกับความแรงของสัญญาณอินพุตที่ป้อนเข้ามาก็จะได้เป็นความแรงของ สัญญาณที่ออกทางเอาต์พุต ซึ่งในแต่ละตำแหน่งของอินพุตจะให้สัญญาณเสียงเอาต์พุตออกมาที่ความแรง
1 Vrms.

ที่มา

Pre amp ic multi-purpose by NE5532




วงจรเบาซ์เลส สวิตช์ โดยใช้ CD4049

วงจรเบาซ์เลส สวิตช์ โดยใช้ CD4049

นี่เป็นวงจร bounceless switch อย่างง่าย ในลักษณะสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีคุณภาพสูง และสัญญาณรบกวนต่ำ เหมาะสำหรับระบบดิจิตอล หากนำสวิตช์ปกติใช้กับวงจรดิจิตอล มักจะมีปัญหาสัญญารบกวนง่าย ทำให้วงจรทำงานผิดพลาดได้ วงจรนี้ใช้ไอซีดิจิตอลเบอร์ CD4049 Hex Inverting Buffer 
จัดวงจรทำงานแบบ RS flip-flops ทำให้สัญญาณออกมามีความแน่นอนสูง อุปกรณ์เสริมก็ใช้เพียงตัวต้านทานเพียง 2 ตัวเท่านั้น รายละเอียดอื่นๆ ดูในวงจรได้ครับ

ที่มา

simple bounceless switch using CD4049



 

วงจรเตือนตรวจระดับน้ำ ด้วยไอซี LM380

วงจรเตือนตรวจระดับน้ำ ด้วยไอซี LM380



นี่เป็นวงจร Water Sensor Alarm สำหรับเตือนระดับน้ำ โดยเมื่อจุดเซ็นเซอร์สัมผัสน้ำ วงจรก็จะมีเสียงดังเตือนให้ได้ยินทันที โดยวงจรนี้ใช้ไอซี LM380 ปกติใช้เป็นไอซีขยายเสียงขนาดเล็ก หาซื้อง่าย ใช้งานไม่ยาก สำหรับลำโพงเพื่อนๆ เลือกใช้ขนาดเล็ก 8 ohm ก็ได้ สำหรับแหล่งจ่ายไฟใช้ขนาด 9V ถึง 12V ก็ได้ครับ รายละเอียดอื่นๆ ดูในวงจรดีกว่าครับ

ที่มา

Water Sensor Alarm using LM380

วงจรแอมป์เสตอริโอใช้ IC TDA2822

วงจรแอมป์เสตอริโอใช้ IC TDA2822

วงจรนี้จะ stereo power amplifier โดยใช้ ไอซี เบอร์ TDA2822 ภายในเป็นแบบ Dual Amp ให้ยpower watt ที่ 1W +1W อัตราการขยายที่ 40 dB bandwidth ที่ 120 kHz ใช้ power supply
ตั้งแต่ 1.8-15 volt และใช้ current 6 mA
ป้อน power supply 9 volt เข้าวงจร C7 จะทำหน้าที่กรองระดับไฟให้เรียบแล้วจึงไปป้อน power supply ให้กับ IC1 ที่ขา 2 input signal ทางซ้ายและขวาที่เข้ามาจะผ่าน VR1 และ VR2 เพื่อ
ปรับลด ระดับความดังของเสียงแล้ว coupling ผ่าน C1 และ C2 จากนั้นผ่านไปเข้า input ของ IC1 ที่ขา 7, 8, 6 และ 5 ตามลำดับ จากนั้นสัญญาณที่ถูกขยายแล้วจะออกทางขา 1 ซึ่งเป็น output
ของช่อง สัญญาณทางซ้าย และทางขา 3 เป็น output ของช่องสัญญาณทางขวา โดยสัญญาณ output ของช่องซ้ายและช่องขวาจะผ่าน C3 และ C4 signal coupling เข้าลำโพง โดยมี R1,C5
และ R2, C6 ทำหน้าที่กำจัดสัญญาณรบกวนของแต่ละช่องสัญญาณออก
ที่มา

Stereo audio amplifier using ic TDA2822



 

กล่องดนตรีเอนกประสงค์ด้วยไอซี M3481

กล่องดนตรีเอนกประสงค์ด้วยไอซี M3481

นี่เป็นวงจรกล่องดนตรีเอนกประสงค์ ที่น่าสนใจ เพราะใช้ไอซีสำเร็จรูป จึงสร้างง่ายและราคาประหยัด
การทำงานของวงจร คือ อุปกรณ์หลักของวงจรนี้คือ IC1. ซึ่งเป็นไอซีกำเนิดเสียงเพลง ในเทศกาลคริสต์มาส. มันมีเสียงดนตรีทั้งหมด 8 เพลง. เมื่อต่อแหล่งจ่ายไฟ LDR1 ได้รับแสงจะทำให้แรงดันที่ตกคร่อม R1 มีมากพอที่จะทำให้ IC1 ทำงาน. จึงมีเอาต์พุตออกไปกระตุ้นขา 11 และขา 12 ไปกระตุ้นขา B ของ Q1 และ Q2 ให้ขยายกระแสที่จะนำมาขับลำโพง. ในขณะที่วงจรทำงาน ถ้าสวิตช์ S1 เชื่อมต่อจะทำให้เล่นเพลงซ้ำเพลงเดียวไปเรื่อย ๆ แต่ถ้า S1 ไม่ได้เชื่อมต่อ วงจรจะเล่นเพลงทั้งหมด. แต่ถ้าเชื่อมต่อสวิตช์ S2 เข้ากับวงจร. เมื่อไม่มีแสงจะหยุดเล่นเพลงในทันที. แต่ถ้าสวิตช์ S2 ไม่เชื่อมต่อ ่และไม่มีแสงเพลงจะไม่หยุดจนกว่าจะเล่นเพลงนั้นจบ. สวิตช์ S3 มีหน้าที่ในการเลือกเพลง เมื่อกด 1 ครั้งจะเลื่อนไปหนึ่งเพลง. นอกจากนี้ยังมี VR1 จะเป็นตัวควบคุมโทนเสียง ถ้า VR1 มีความต้านทานน้อยจะเป็นการลดโทนเสียงให้ต่ำลง และเพลงก็จะเล่นช้าลงด้วย. R6, C3 จะทำหน้าที่แต่งเสียงให้นุ่มนวลยิ่งขึ้น. R7 คอยป้อนกลับเพื่อควบคุมเสถียรภาพไฟฟ้ากระแสตรงทางเอาต์พุตของวงจร.

ที่มา

Music box versatile using IC M3481




วงจรดีซีมอเตอร์คอนโทรลเลอร์ด้วยเอสซีอาร์และไอซีซีมอส

วงจรดีซีมอเตอร์คอนโทรลเลอร์ด้วยเอสซีอาร์และไอซีซีมอส

วงจรควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟตรง 12 โวลต์ ซึ่งสามารถปรับความเร็วในการหมุนของแกนมอเตอร์ตั้งแต่ 5-60 รอบต่อนาที 
การทำงานของวงจรมี IC1 ซึ่งเป็นไอซีชนิดแอนด์เกต รับแรงดันที่ผ่านออกจากบริดจ์ไดโอด BD1 และยังไม่มีการกรองกระแสให้เรียบ โดยที่แรงดันส่วนหนึ่งจะเข้ามาทางขา 1 โดยตรง อีกส่วนจะแยกเข้าที่ขา 2 ซึ่งมี VR1, C1 และ R1 เป็นวงจรเลื่อนเฟสหรือหน่วงเวลาให้ช้าลง แรงดันที่ออกมาจากขา 3 จะไปกระตุ้นหรือทริกขาเกตของเอสซีอาร์ SCR1 ให้ทำงานหรือนำกระแสให้กับมอเตอร์และทำให้มอเตอร์หมุน อัตราความเร็วของมอเตอร์จะเกิดจากการปรับ VR1 
ไฟเลี้ยงที่ป้อนเข้าขา 14 ของ IC1 จะถูกกรองกระแสให้เรียบก่อน โดยผ่าน D2 และ C2 ส่วน D1 เป็นตัวกันสัญญาณรบกวนวงจรที่เกิดจากมอเตอร์ และ D3 เป็นตัวป้องกันแรงดันย้อนกลับจากมอเตอร์ซึ่งอาจทำให้วงจรเสียหายได้ ถ้ามีการนำวงจรนี้ไปใช้กับมอเตอร์ที่กินกระแสสูง ๆ ควรมีการติดแผ่นระบายความร้อนให้กับ BD1, D1 และ SCR1 เพราะอุปกรณ์พวกนี้จะเกิดความร้อนขึ้นมา ถ้าเราไม่ติดจะทำให้อุปกรณ์เกิดเสียได้ อันเนื่องมาจากระบายความร้อนไม่ทัน

วงจรป้องกันไฟเกิน-ไฟตกให้เครื่องใช้ไฟฟ้า

วงจรป้องกันไฟเกิน-ไฟตกให้เครื่องใช้ไฟฟ้า

นี่เป็นวงจรป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย, เมื่อระดับแรงดัน 220V มากเกินไป, และป้องกันเมื่อแรงดันต่ำเกินไปด้วย. โดยใช้รีเลยตัดไฟออกทันทีเมื่อแรงดันมีปัญหา.
จากวงจรเมื่อจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ จะผ่านหม้อแปลง T1. มันทำหน้าที่ลดแรงดันให้เหลือ 12 โวลต์,ก่อนผ่าน D1-D4 ที่ต่อเป็นวงจรเร็กติไฟร์แบบบริดจ์ เพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้า
กระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง. จากนั้นผ่าน C1 และ C2 เพื่อทำการกรองกระแสไฟให้เรียบ. และผ่านเข้าขา1 หรือขาอินพุตของ IC1 ซึ่งเป็น IC เร็กกูเลเตอร์ 12 โวลต์ เพื่อเป็นไฟเลี้ยงคงที่ให้กับ IC2. ซึ่งมันเป็นไอซีออบแอมป์ ทำหน้าที่เปรียบแรงดัน IC2/1 ตรวจจับแรงดันสูง, หากแรงดันสูงไอซีส่วนนี้ทำงาน ส่งกระแสให้ Q1 ทำงานและรีเลย์ก็ทำงานด้วย, จึงตัดกระแสไฟออกจากโหลดทันที. ส่วน IC2/2 ทำหน้าที่ตรวจจับแรงดันต่ำกว่ากำหนด. ซึ่งทั้งสองส่วนเราสามารถกำหนดได้ด้วย VR1,VR2. LED1 สำหรับแสดงผลเมื่อไฟเกินหรือไฟต่ำกว่าำกำหนดไว้.

วงจรเสียงออดประตู ด้วยไอซี CD4001 และ CD4060

วงจรเสียงออดประตู ด้วยไอซี CD4001 และ CD4060
วงจร door buzzer เป็นวงจรให้โทน 2 เสียงขณะกดสวิตช์ S1 การทำงานของวงจรมี IC1 เป็นไอซีหารความถี่และเป็นตัวผลิตความถี่เสียงออกมา โดยมี C1, R1 เป็นตัวกำหนดความถี่เสียง
สัญญาณเสียงนี้ออกมาขา 7 และขา 4 เข้าทางขา 1 และขา 8 ของ IC2a, IC2c ตามลำดับ ส่วน IC2b เป็นตัวคอนเวอร์เตอร์ความถี่ควบคุมให้กับ IC2c เมื่อสัญญาณควบคุมในสภาวะต่ำ (Low) สัญญาณความถี่ 1.25 กิโลเฮิรตช์จะผ่าน IC2a ในขณะเดียวกันสัญญาณควบคุมที่ผ่าน IC2b ก็จะอยู่ในสภาวะสูง (High) สัญญาณความถี่ 300 เฮิรตช์ จะผ่าน IC2c และเอาต์พุตที่ขา 3 ของ IC2a อยู่ในสภาวะต่ำเช่นกัน เอาต์พุตจาก IC2a และ IC2c จะถูกส่งเข้าไปที่ IC2d ซึ่งทำหน้าที่รวมสัญญาณทั้งสองและส่งออกไปยังทรานซิสเตอร์ Q1 ทำหน้าที่เป็นสวิตช์และขยายสัญญาณเสียง และผ่านออกไปยังลำโพง ซึ่งจะได้ยินเป็นเสียงโทน 2 จังหวะ
R3 ทำหน้าที่เหมือนโวลุ่ม หากเพิ่มค่ามากขึ้นจะทำให้เสียงเบาลงแต่นุ่มนวลขึ้น วงจรใช้ไวเลี้ยง +6 โวลต์



ที่มา

Door buzzer sound with CD4001 CD4060

ชุดวัดระยะทางสำหรับรถจักรยาน

ชุดวัดระยะทางสำหรับรถจักรยาน

การทำงานของวงจร รีดสวิตช์ S1 ตรวจจับแรงแม่เหล็ก โดยที่ S1 ต่อวงจรเมื่อมีแรงแม่เหล็กเข้ามาใกล้ และเปิดวงจรเมื่อแรงแม่เหล็กห่างออกไป ทำงานร่วมกับตัวต้านทาน R1, R2 และตัวเก็บประจุ C1 กำเนิดพัลส์สัญญาณป้อนให้กับ IC1 นับจำนวนพัลส์ เมื่อนับถึงพัลส์ที่ 8 จะมีแรงดัน "high" ออกจากขา 6 ผ่าน R4 ไปกระตุ้นขาเบสของทรานซิสเตอร์ Q1 ให้ทำงาน เกิดกระแสไหลผ่าน LED ถายในออปโต้คัปเปลอร์ IC2 ส่งถ่ายพัลส์สัญญาณออกไปที่ขา 7, 8 ไปเข้ายังชุดโมดูลนับความถี่ของเครื่องวัดระยะทางที่ติดตั้งอยู่แล้วบนจักรยาน
แผ่นแม่เหล็กจะติดตั้งที่ซี่กรงล้อจักรยาน ห่างจากจุดศูนย์กลางล้อประมาณ 12.5 นิ้ว ส่วนรีดสวิตช์ S1 ติดตั้งที่ขาตะเกียบรถจักรยานให้ระดับตรงกับแผ่นแม่เหล็ก เมื่อแม่เหล็กหมุนมาตรงกับ S1 เป็นการครบหนึ่งรอบพอดี หรือกำเนิดพัลส์สัญญาณขึ้นมา 1 พัลส์ หากล้อหมุนไปครบ 8 รอบ ก็จะมีพัลส์ป้อนเข้า IC1 จำนวน 8 พัลส์ และมีแรงดันออกไปกระตุ้นให้ทรานซิสเตอร์ทำงาน และแสดงผลออกไปที่เครื่องวัดระยะทางหนึ่งครั้ง แต่หากล้อหมุนไปครบรอบที่ 9 หรือมีพัลส์ที่ 9 ป้อนให้กับ IC1 ก็จะกลายเป็นรีเซ็ต หรือเริ่มนับใหม่อีกครั้ง จนครบ 8 รอบ จึงจะแสดงผลออกไปที่เครื่องวัดระยะทาง เป็นครั้งที่สอง ซึ่งแต่ละครั้งที่แสดงผลออกไปจะเป็นระยะทาง 0.01 ไมล์หรือประมาณ 16 เมตร

ที่มา

Measure the distance by bicycle





วงจรแอมป์เสตอริโอสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์

วงจรแอมป์เสตอริโอสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์

วงจรขยายเสียงสเตอริโอจิ๋วให้กำลังวัตต์ต่ำ ใช้อุปกรณ์น้อยชิ้น การทำงานของวงจรสัญญาณเสียงแยกเข้ามาซ้าย ขวา ผ่านตัวเก็บประจุคัปปลิ้ง C1, C2 มีตัวต้านทานปรับค่าได้ VR1 ปรับความแรงของสัญญาณป้อนให้กับบริดจ์แอมปลิไฟเออร์ IC1, IC2 ขยายสัญญาณให้แรงขึ้นเพื่อไปขับออกลำโพงซ้าย-ขวา
ตัวต้านทาน R1, R2 กำหนดค่าอินพุตอิมพีแดนซ์ใช้กับวงจร ส่วนตัวเก็บประจุ C4 กรองไฟให้เรียบและ C1 ลดสัญญาณรบกวนจากความถี่สูงที่อาจเกิดจากแหล่งจ่ายไฟให้ลงกราวด์ เพื่อให้วงจรทำให้เสถียรภาพยิ่งขึ้น
วงจรนี้ใช้แหล่งจ่ายไฟ 6 โวลต์หรือถ่านไฟฉายเพียง 4 ก้อน ให้กำลังวัตต์ออกมาสูงสุดขนาด 1.5 วัตต์ ที่ลำโพง 8 โอห์ม สามารถนำไปขยายสัญญาณเสียงขนาดเล็กจากเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่นเทป หรือซาวด์อะเบาด์ ก็ได้ไม่มีใครห้าม เพียงแต่มีช่องเสียบหูฟังหรือ phone เป็นใช้ได้


ที่มา

small stereo amplifier for computer with TDA7025


วงจรขยายสัญญาณความถี่สูง แถบความถี่กว้าง

วงจรขยายสัญญาณความถี่สูง แถบความถี่กว้าง

วงจรขยายสัญญาณความถี่สูง ย่านแถบความถี่กว้าง ระหว่าง 75-150 เมกะเฮิรตซ์ โดยใช้ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP มาขยายสัญญาณเพื่อยกระดับสัญญาณให้แรงขึ้น ก่อนผ่านเข้าไปยังภาครับของเครื่องรับ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเครื่องรับโทรศัพท์ หรือเครื่องรับวิทยุ FM หรือวิทยุสมัครเล่น หากตัวเครื่องรับสามารถรับสัญญาณในย่านความถี่สูงได้ โดยเฉพาะย่าน VHF หรือวงจรนี้เป็นบูสเตอร์ตัวหนึ่ง ทำหน้าที่ขยายสัญญาณให้แรงขึ้นเท่านั้น
การทำงานของวงจร สัญญาณความถี่สูงย่าน VHF เหนี่ยวนำผ่านสายอากาศ เข้าที่ขาอิมิตเตอร์ของทรานซิสเตอร์ Q1 ซึ่งจัดวงจรแบบเบสร่วม มีอินพุตอิมพีแดนซ์ต่ำ ซึ่งสามารถใช้สายโคแอคเชียล 50 โอห์ม ต่อจากสายอากาศเข้ากับวงจรได้เลย สัญญาณที่ผ่าน Q1 ถูกขยายได้แรงขึ้น และส่งเข้าจูนเนอร์หรือภาครับของเครื่องรับสัญญาณต่อไป
ขดลวด L1 ใช้ลวดอาบน้ำยาเบอร์ 24 SWG พันจำนวน 10 รอบ ให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 3 มิลลิเมตร และขดลวด L2 ใช้ลวดเบอร์เดียวกันนี้ พันจำนวน 13 รอบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ขดลวดทั้งสองเป็นแบบไม่มีแกน หรือเป็นแบบแกนอากาศ ส่วนแหล่งจ่ายไฟใช้ +5 โวลต์ วงจรนี้ขณะทำงานกินกระแสเพียง 2.5 มิลลิแอมป์ หากเป็นการประกอบวงจรเพื่อใช้งานจริง ควรมีพื้นฐานด้านสายอากาศ และการออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ในย่านความถี่สูงมาบ้างพอสมควร


 

ที่มา

Wide band high frequency amplifier


วงจรหน่วงเวลาเปิดจอมอนิเตอร์

วงจรหน่วงเวลาเปิดจอมอนิเตอร์

วงจรหน่วงเวลาเปิดสวิตช์ให้กับจอมอนิเตอร์ โดยใช้หน้าสัมผัสของรีเลย์ทำหน้าที่แทนสวิตช์ เมื่อป้อนไฟเมน 220 โวลต์เข้ามา วงจรจะหน่วงเวลาชั่วขณะหนึ่ง เพื่อลดการกระชากของกระแสจะค่อย ๆ ไหลเข้ามาก่อนในช่วงเวลาหนึ่ง
ตัวต้านทาน R1 และตัวเก็บประจุ C1, C2 จะยอมให้กระแสไหลเข้าวงจรเพียงประมาณ 40 มิลลิแอมป์ มีซีเนอร์ไดโอด ZD1 จำกัดแรงดันให้มีขนาด 15 โวลต์ และเร็กติไฟล์ผ่านไดโอด D1มีไดโอด D2 คลิบปลิ้งแรงดันไบอัสให้กับทรานซิสเตอร์ Q1 ทำงานและมีขับกระแสให้รีเลย์ RY1 สวิตช์หน้าสัมผัสแตะกันต่อไปเมน 220 โวลต์ ให้กับจอมอนิเตอร์
ตัวเก็บประจุ C4 จะจ่ายกระแสให้กับทรานซิสเตอร์ Q1 ในขณะที่ไฟสลับในครึ่งซีกลบเข้ามา เพราะแรงดันที่เร็กติไฟล์ผ่าน D1 จะมีเพียงเฉพาะในครึ่งซีกบวกเท่านั้นในวงจรนี้จำเป็นต้อง ให้ทรานซิสเตอร์ทำงานตลอดเวลาขณะที่เปิดเครื่อง จึงต้องต่อ C4 ไว้ ส่วนตัวเก็บประจุ C3 กรองกระแสให้เรียบ ไดโอด D3 ป้องกันแรงดันย้อนกลับจากขดลวดของรีเลย์ ซึ่งอาจทำให้วงจรเสียหายได้

ที่มา

Delay switch turn on the monitor




ไฟเบรคดิสโก้ติดรถจักรยาน

ไฟเบรคดิสโก้ติดรถจักรยาน

วงจรติดกะพริบให้ไฟเบรค การทำงานเริ่มต้นที่เมื่อจ่ายไฟให้กับวงจร หรือแตะเบรคนั่นเอง ไอซีตั้งเวลา IC2 นอกจากเป็นตัวขับกระแสให้กับทรานซิสเตอร์ Q2 แล้ว ยังใช้เป็นตัวออสซิลเลเตอร์ป้อนพัลส์สัญญาณนาฬิกาออกที่ขา 3 ไปเข้าที่ขา 1 ของ IC1 นับจำนวนพัลส์และจะหยุดนับเมื่อครบ 8 พัลส์ โดยขา 2 ของ IC1 จะทำการรีเซ็ต
ทรานซิสเตอร์ Q1 นอกจากจะเป็นตัวทริกให้กับ IC2 แล้วยังมีผลให้ขา 3 ของ IC2 กลับเปลี่ยนสถานะด้วย โดยได้จากแรงดันที่ตกคร่อม R3 ทำให้มีแรงดันออกไปที่ขา 7 ของ IC2 ทำให้ Q2 ได้รับไบอัสตรงขับกระแสทำให้หลอดไฟเบรคติดสว่างขึ้น
การกระพริบของไฟเบรคขณะที่แตะเบรคค้างไว้ จะกะพริบต่อเนื่องชุดละประมาณ 6 ครั้งต่อวินาที ซึ่งกำหนดด้วยค่า R3 และค่า C3 ส่วนระยะห่างแต่ละชุดก็กำหนดได้ด้วยค่า C2 และ R1 แรงดันที่ป้อนให้กับวงจรใช้ไฟตรง 12 โวลต์จากรถยนต์ได้เลย ส่วนตัวเก็บประจุ C1 เป็นตัวกรองกระแสให้เรียบ ทรานซิสเตอร์ Q2 อาจใช้เบอร์ SM3180 ก็ได้



ที่มา

Flashing brake lights


วงจรโรตารี่สวิตช์อิเล็กทรอนิกส์

วงจรโรตารี่สวิตช์อิเล็กทรอนิกส์

วงจรโรตารีสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้สวิตช์เพียงตัวเดียวเลือกฟังก์ชันการทำงานไปควบคุมวงจรภายนอกได้ 9 ตำแหน่ง การทำงานเกิดขึ้นเมื่อทุกครั้งที่กดสวิตช์ S1 สัญญาณที่ออกจากขา 2 ของ IC1 จะเป็น "high" ตลอดและป้อนพัลส์สัญญาณให้กับ IC2 ได้เอาต์พุตออกที่ขา 3 เป็น "high" เช่นกัน และเมื่อกดสวิตช์อีกครั้งเอาต์พุตที่ขา 3 จะเป็น "low" แต่เอาต์พุตที่ขา 2 จะเป็น "high" และเมื่อกดสวิตช์ทุกครั้งเอาต์พุต "high" ก็จะไล่เรียงลำดับกันไป จนถึงเอาต์พุตที่ขา 11 จึงกลับมาเริ่มต้นที่ขา 3 อีกครั้ง
ส่วนเอาต์พุต "high" ที่ออกจากเอาต์พุตของ IC2 สามารถนำไปใช้ควบคุมภายนอก ไม่ว่าจะเป็นวงจรควบคุมโวลุ่มเลือกฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ หรือวงจรควบคุมปิด เปิดไฟ เป็นต้น หรืออาจใช้ร่วมกับไอซี 4016 ซึ่งเป็นอะนาลอกสวิตช์ก็ได้ แต่ต้องเปิดดูคู่มือการใช้งานไอซีเบอร์นี้ก่อน เป็นไอซีใช้งานง่ายตัวหนึ่ง
ค่าตัวต้านทาน R1 และ C1 หน่วงเวลาหลังจากกดสวิตช์ S1 เพื่อให้วงจรรับรู้ว่าการกดสวิตช์แต่ละครั้งนั้นเป็นการกดสวิตช์เพียงครั้งเดียวจริง ๆ เหมือนเป็นพัลส์เพียงลูกเดียวป้อนให้กับวงจร ส่วน IC3a และ IC3b จะรีเซ็ตสัญญาณให้กับ IC1 และ IC2



ที่มา

Rotary electronic switch

เกมส์รูเล็ตขนาดเล็ก

เกมส์รูเล็ตขนาดเล็ก

วงจรมินิรูเล็ต เมื่อกดสวิตช์ S1 เอาต์พุตที่ขา 1 ของ IC1a จะมีแรงดันเป็น "high" ทำให้วงจรออสซิลเลเตอร์ IC2b, IC2c ทำงาน กำเนิดพัลส์สัญญาณนาฬิกาป้อนให้กับ IC3 มีแรงดัน "high" ออกไปทางเอาต์พุต ขา 3, 11 และขา 12 ของ IC3 ทำให้ LED1-LED10 ติดสว่างไล่ลำดับเรียงกันไป ส่วน LED11 แสดงถึงแต้มสูงต่ำ เอาต์พุตจากขา 3, 2, 4, 7, 10 ของ IC3 แทนด้วยแต้มสูง เอาต์พุตขา 1, 5, 6, 9, 11 ของ IC3 แทนด้วยแต้มต่ำ ส่วนแจ็กพอตแทนด้วย LED12 โดยมี IC1b, IC2a และ IC2d เป็นตัวควบคุม
ตัวต้านทาน R2 และตัวเก็บประจุ C1 เป็นตัวกำหนดคาบเวลาให้กับเอาต์พุต "high" ที่ออกมาจากขา 1 ของ IC1a ซึ่ง C1 จะเก็บประจุผ่าน R2 เมื่อกดสวิตช์และแรงดันที่ตกคร่อม C1 ก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงค่าสูงสุดระดับหนึ่ง ก็จะทำให้ฟลิปฟลอป IC1a กลายเป็นตัวรีเซ็ตให้เอาต์พุตออกมาที่ขา 1 เป็น "low" และทำให้วงจรออสซิลเลเตอร์หยุดทำงาน แต่จะมี LED บางตัวเท่านั้นติดสว่างค้างอยู่ อาจเป็น LED ที่เราทายถูกก็ได้
ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะกดสวิตช์กี่ครั้ง เพราะอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับคาบเวลาซึ่งกำหนดด้วยว่า R2 และ C1 ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ใช้เก็บไฟเลี้ยงขนาด 6 โวลต์ หากเปลี่ยนเป็นขนาด 9 โวลต์ ก็ต้องทดลองดูไม่มีอันตรายอยู่แล้ว



ที่มา

Mini roulette system

เครื่องตรวจสอบสัญญาณริงโทนด้วยแสงและเสียง

เครื่องตรวจสอบสัญญาณริงโทนด้วยแสงและเสียง

วงจรดีเท็กสัญญาณริงกิ้งโทนด้วยแสงและเสียง สะดวกกับการต่อใช้งาน และคุณภาพของวงจรก็อยู่ในขั้นดี ไม่ต้องมีแหล่งจ่ายไฟป้อน ซึ่งเป็นวงจรตรวจจับสัญญาณริงกิ้งโทน หรือสัญญาณกริ่งเรียกเข้าในคู่สายโทรศัพท์ เมื่อมีใครโทรเข้ามา
ขณะที่มีสัญญาณเรียกเข้า C1, C2 จะทำหน้าที่คับปลิ้งสัญญาณริงกิ้งที่เป็นไฟสลับมาให้กับไดโอด D1, D2 สัญญาณจะถูกลดทอนแรงดันลงเหลือประมาณ 10V โดย D2 ทำการดีเท็กเอาแต่สัญญาณช่วงลบไปอีกขั้วหนึ่งครบลูปของคู่สาย ส่วน D1 ดีเท็กสัญญาณช่วงบวกมาจ่ายให้กับ LED ทั้ง 4 ตัว ที่ต่ออยู่ให้กะพริบแสงออกมาตามความถี่ของริงกิ้งโทน ซึ่งมีค่าประมาณ 20 Hz พร้อมกันกับลำโพงเปียโซ แสดงสัญญาณเสียงปี้ด ๆ ตามความถี่ของริงกิ้งโทนด้วย
LED สามารถต่ออนุกรมเพิ่มมากขึ้นได้อีก แต่จะทำให้แสงสว่างจากตัว LED น้อยลงตามอัตราส่วน เนื่องจากวงจรอาศัยกระแสไฟจากคู่สายมาจ่ายให้ทำงาน



ที่มา

Detect ringing signal tone with light and sound


วงจรกำเนิดพัลส์ควบคุมด้วยไอซีดิจิตอล

วงจรกำเนิดพัลส์ควบคุมด้วยไอซีดิจิตอล

วงจรนี้ใช้กำเนิดความถี่สัญญาณพัลส์,ในลักษณะต่อเนื่อง หรือ วงจรอะสเตเบิ้ลมัลติไวเบรเตอร์. โดยใช้ IC1 เบอร์ 555 ทำงานร่วมกับ VR1, R1, R2 และ CT ค่าของ CT ได้จากการเลือกของไอซีอิเล็กทรอนิกส์สวิตช์ IC2 เบอร์ 4066, สวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใน IC 2 มี 4 ตัว
การควบคุมสวิตช์สัมผัสกันทางไฟฟ้า (ON), โดยป้อนแรงดันไฟบวกหรือลอจิก "1" ให้กับขาควบคุม ซึ่งมีขา 13, 5, 6 หรือ 12 หากต่อขาควบคุมลงกราวด์,สวิตช์ก็จะถูกเปิดออก (OFF), สวิตช์แต่ละตัว,สามารถแยกการทำงานกันได้อย่างอิสระ,ไม่ต้องเรียงลำดับ, และขาเข้า (IN) กับขาออก (OUT) ยังสามารถสลับกันได้
มันจึงเหมาะสมเป็นสวิตช์เลือกค่า C แต่ละค่า,ด้วยการป้อนสัญญาณลอจิกจากวงจรดิจิตอล, ซึ่งเป็นรหัสเลขฐานสอง คือ "0" กับ "1". เมื่อขาควบคุมของสวิตช์ตัวใดตัวหนึ่งมีลอจิก "1", หน้าสัมผัสทางไฟฟ้าของสวิตช์ตัวนั้นแตะกัน. ทำให้ตัวเก็บประจุที่ต่ออยู่กับขาสวิตช์ถูกต่อกับขา 2 และ 6 ของ IC1. เพื่อกำหนดค่าความถี่ร่วมกับ VR1, R1 และ R2
บางครั้งขาควบคุมอาจจะถูกป้อนลอจิก "1" มากกว่า 1 ขา, ก็จะทำให้ตัวเก็บประจุถูกต่อขนานกันมากกว่า 1 ตัว ค่าความจุจะมากขึ้น, ซึ่งการนำค่า C มารวมกัน จากวงจรสามารถจะลดหรือเพิ่มค่าของ R1, R2 หรือเพื่อความสะดวก,ก็สามารถปรับเปลี่ยนค่าความต้านทานจาก VR1 ได้เลย สัญญาณพัลส์ที่ถูกสร้างจะส่งออกมาที่ขา 3 ของ IC1 เป็นสัญญาณเอาต์พุต นำไปป้อนให้กับวงจรอื่น ๆ เช่น วงจรนับ, หาร หรือจะต่อเข้ากับลำโพง เพื่อทำเป็นวงจรสร้างเสียงสัญญาณก็ได้



ที่มา

Pulse generator control frequency by digital IC


วงจรเรกูเลเตอร์ ด้วยทรานซิสเตอร์ สามารถปรับแรงดันเอ้าพุตได้

วงจรเรกูเลเตอร์ ด้วยทรานซิสเตอร์ สามารถปรับแรงดันเอ้าพุตได้

วงจรรักษาแรงดันที่ปรับค่าระดับแรงดันเอาต์พุตได้ ทำหน้าที่ปรับลดแรงดันทางอินพุตลงมาแล้ว รักษาสถานะของแรงดันที่ได้ให้คงที่ โดยมี Q1 ต่อในลักษณะวงจรขยายแบบอิมิเตอร์ร่วม ซึ่งจะทำให้แรงดันที่ตกคร่อมขาคอลเล็กเตอร์เทียบกับกราวด์ มีค่าเป็นจำนวนเท่าของแรงดันระหว่างขาเบสกับกราวด์ของ Q1 เอง ซึ่งรวมมาจากแรงดันเบส-อิมิตเตอร์ (0.6 V) กับแรงดันจากซีเนอร์ไดโอด (6.2 V) แล้วปรับค่าของ VR1 ช่วย
วงจรนี้มีสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิน้อยมากจนเกือบเป็นศูนย์ เนื่องจากรอยต่อเบส-อิมิตเตอร์ของ Q1 มีค่าสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิ -2 mV ต่อองศาเซลเซียส และซีเนอร์ไดโอด ZD1 มีสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิ +2 mV ต่อองศาเซลเซียส ทำให้ลดผลของอุณหภูมิต่อวงจรไปได้มากเลยทีเดียว
Q2 ช่วยขับกระแสเอาต์พุตให้มากขึ้น และส่งผลให้แรงดันที่ขาเอาต์พุตถูกลดทอนลงเมื่อ Q2 นำกระแส ซึ่งสามารถปรับแรงดันเอาต์พุตได้จาก VR1 ในช่วง 6.8 - 15.6V โดยมี R3 และ C1 ทำหน้าที่เป็น RC ฟิลเตอร์ ลดแรงดันริปเปิลให้น้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม วงจรนี้จ่ายกระแสได้ประมาณไม่เกิน 100 mA เท่านั้น เหมาะกับการต่อกับวงจรที่ใช้กระแสต่ำ ๆ

วงจรเรกูเลเตอร์ ด้วยทรานซิสเตอร์ สามารถปรับแรงดันเอ้าพุตได้

ที่มา

Transistor regulator circuit can adjustable output voltage


วงจรลดความเร็วมอเตอร์

วงจรลดความเร็วมอเตอร์


มอเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อย่างหนึ่ง ที่มีประโยชน์มาก ทำหน้าที่เปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานจล ใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์มากๆ เมื่อต้องการลดความเร็วของมอเตอร์ ก็สามารถทำได้หลายวิธีมาก ทั้งการลดแรงดันที่จ่ายให้มอเตอร์น้อยลง หรือ การใชระบบเฟืองทดรอบเพื่อลดความเร็วลง วิธีนี้มีกำลังคงเดิม
แต่จุดอ่อนคือ ยุ่งยาก เปลืองเนื้อที่ติดตั้ง จึงนิยมใช้วิธีลดพลังงานไฟฟ้าลงด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น PWM, Stepper motor และอื่นๆ

เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ 12V เต็มแล้วตัด

เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ 12V เต็มแล้วตัด 

เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ของเรานี้เป็นวงจรเครื่องชาร์จระบบอัตโนมัติ โดยเมื่อระดับแรงดันของแบตเตอรี่ต่ำกว่ากำหนดวงจรนี้จะจ่ายไฟเข้าแบตเตอรี่ทันที และหยุดการชาร์จเมื่อแบตเตอรี่เต็มเท่านั้น จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในเครื่องจ่ายไฟฉุกเฉินหรือระบบไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่เป็นพลังงานสำรองทุกชนิดและที่แน่ๆ ถ้าท่านนำไปใช้กับแบตเตอรี่รถยนต์ของคุณ,ก็ไม่ผิดกติกาใดๆ
และที่สำคัญที่สุดก็คือ สนนราคาซึ่งถูกมากจริงๆรีบสร้างไว้ใช้ได้แล้วนะครับ
การทำงานของวงจร
จากวงจรจะเห็นได้ว่าหัวใจในการทำงาน ก็คือไอซี 1 ออบแอมป์ ซึ่งถูกนำมาต่อเป็นวงจรเปรียบเทียบ โดยปกติแรงดันไฟที่ขา 3 จะเท่ากับ 6V
ในขณะที่แบตเตอรี่มีแรงดันไฟชาร์จอยู่เต็มแรงดันไฟออกที่ขา 6 เป็นแรงดันไฟลบป้อนผ่านZenerdiode ไปทำให้ทรานซิสเตอร์ Q1 ไม่ทำงาน Relay RY1 ก็ไม่ทำงาน ดังนั้น แรงดันไฟ AC ที่ป้อนให้กับทรานซิสเตอร์T1 ก็จะถูกตัดออก
best-12v-battery-charger-circuit-using-lm311
แต่เมื่อแรงดันไฟที่แบตเตอรี่ตกลงจะทำให้แรงดันไฟที่ขา 2 ของ IC1มีค่าต่ำกว่าที่ขา 3 แรงดันไฟที่ขา 6ของไอซีจะเป็นบวกและถ้าแรงดันไฟฟ้าบวกดังกล่าวสูงกว่า3.3V ก็จะทำให้ได้แรงไฟบวกป้อนให้กับเบสของQ1 ทำให้ Q1 ทำงานรีเลย์ RY1 ก็จะทำงานคอนแท๊คของรีเลย์จะต่อไฟAC ให้กับทรานฟอร์เมอร์ T1 ได้แรงดันไปออกที่ขด secondary ป้อนให้กับวงจรบริดส์ไป ชาร์จแบตเตอรี่จนกระทั่งแรงดันที่แบตเตอรี่เต็ม จะทำให้ขา 2 ของไอซี 1 เป็นบวก เมื่อเทียบกับแรงดันที่ขา 3 วงจรก็จะตัดไฟที่ชาร์จแบตเตอรี่ออกทันทีและจะเริ่มชาร์จใหม่อีกครั้ง เมื่องแรงดันไฟต่ำกว่าที่กำหนด
การสร้าง
ประกอบอุปกรณ์ตามวงจรทั้งหมดลงบนแผ่นปรินต์บอร์ดดังแสดงในรูปวงจร2 ให้ถูกต้อง ตรวจดูความเรียบร้อยของจุดบัดกรีและขั้วของไดโอด และ อิเล็กโทรไลค์ทิกคาพาซิสเตอร์ว่าต่อขั้วไว้อย่างถูกต้องหรือไม่ เมื่อเรียบร้อยดีแล้วให้ทดลองต่อแรงดันไฟฟ้าซัพพลายชนิดปรับแรงดันได้ เข้ามาที่ขั้วต่อ สำหรับชาร์จแบตเตอรี่ ปรับแรงดันไฟได้เข้ามาที่ขั้วต่อ สำหรับชาร์จแบตเตอรี่
ปรับแรงดันไฟไว้ที่ 11แล้วปรับ VR1 จนกระทั่งหลอด LED ติดสว่างแสดงว่า รีเลย์ RY1 ทำงานถูกต้อง
ปรับแรงดันเพิ่มขึ้นที่ละนิด จนแรงดันเท่ากับ 13Vหลอด LED จะดับ แสดงว่ารีเลย์ตัดวงจรแล้วถ้าไฟไม่ดับปรับ R2 ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
การปรับ VR1 ซึ่งอาจจะต้องทำการปรับไปปรับมาหลายครั้งเพื่อให้ได้ย่านการทำงานของวงจรเป็นอย่างเหมาะสม

ที่มา
 Best 12V battery charger circuit using LM311

วงจรป้องกันลำโพง สำหรับแอมป์โอซีแอล

วงจรป้องกันลำโพง สำหรับแอมป์โอซีแอล

ทำไมต้องมีวงจรป้องกันลำโพง?วงจรป้องกันลำโพงจะป้องกันลำโพงได้อย่างไร?นี่อาจจะเป็นคำถามที่ค้างคาใจของใครต่อใครและถ้าคุณยังไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจนี่คือ คำตอบ
สำหรับวงจรเครื่องขยายเสียงรุ่นใหม่ๆมักนิยมต่อวงจรแบบ direct coupling จากวงจรขยายไปยังลำโพงโดยตรงแบบวงจรที่เรียกกันทั่วไป ได้แก่วงจรขยายแบบ OCL ซึ่งวงจรแบบนี้จะจ่ายไฟให้วงจรทั้งไฟบวกและไฟลบหรือ เรียกว่า แบบไฟสามสาย
คุณสมบัติของวงจรแบบนี้จะมีข้อดีที่สามารถให้ผลตอบสนองทางความถี่ได้ดีกว่าวงจรแบบอื่นๆแต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสีย ตรงที่ เมื่อวงจรเกิดชำรุดเสียหายขึ้นมา ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม จะทำให้เกิดแรงดันไฟตรงเป็นบวก หรือ ลบสูงเท่ากับไฟเลี้ยงออกไฟยังลำโพงทันที
แรงดันไฟดังกล่าวนี้จะมีผลทำให้ขดลวดที่พันลำโพงไหม้และขาดไปในที่สุดดังนั้น หากเราไม่ต้องการให้ลำโพงซึ่งโดยปกติจะเป็นส่วนที่มีราคาแพงที่สุดของเครื่องเสียงต้องเกิดความเสียหายเราจึงจำเป็นต้อนมีวงจรที่ทำหน้าที่ตัดแรงดันไฟดังกล่าวไม่ให้ออกไปยังลำโพงเราจึงเรียกวงจรนี้ว่า วงจรป้องลำโพงตามภาพวงจร
การทำงานของวงจร
จากวงจรจะเห็นได้ว่า เราได้นำเอาสัญญาณส่วนหนึ่งที่จะป้อนออกลำโพงป้อนผ่านรีซิสเตอร์ R1,R8 เข้ามายังชุดป้องกันลำโพงโดยลดขนาดความแรงของสัญญาณให้ต่ำลง คาปาซิสเตอร์ C1 จะทำหน้าที่บายพาสสัญญาณเสียง ดังกล่าวลงกราวด์.
แต่กรณีที่เกิดดีซีโวลเตจเข้ามาไม่ว่า บวกหรือลบ ก็ตาม แรงดันดังกล่าวก็จะผ่านไปยังวงจรบริดส์ไดโอดได้ทันทีวงจรบริดส์จะทำหน้าที่จัดแรงดันที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบดังกล่าวให้ได้เอ้าพุตเป็นแรงดันไฟบวกให้กับเบสของQ1 ทำให้ Q1 ทำงาน
The speaker protection circuit
เมื่อ Q1 ทำงานจะทำให้แรงดันที่คอนเล็คเตอร์ต่ำลงแรงดันไบอัสที่เบสของ Q2 ก็จะต่ำลงด้วยทำให้ Q2,Q3 หยุดทำงานจึงไม่มีกระแสไหลผ่านรีเลย์ RLA1 ดังนั้นรีเลย์RLA1 ก็จะตัดสัญญาณเอ้าพุตของเครื่องขยายเสียงไม่ให้ออกไปที่ลำโพงทันทีลำโพงก็จะปลอดภัยจากแรงดันไฟตรงดังกล่าว
การต่อใช้งาน
  1. ต่อสายกราวด์จากเครื่องขยายเข้ากับกราวด์ของชุดป้องกันลำโพง
  2. ต่อสัญญาณเอ้าพุตจากเครื่องขยายเสียงที่จะต่อไปยังลำโพง มาต่อเข้าที่จุด IN ของชุดป้องกันลำโพงทั้งซีกซ้ายและขวา
  3. ต่อสัญญาณจากจุด OUT ของชุดป้องกันลำโพงไปยังขั้วบวกของลำโพง
การสร้างและทดสอบวงจร
  1. ประกอบอุปกรณ์ลงบนแผ่นปริ้น ดังแสดงในรูปที่ ให้ถูกต้อง
  2. ตรวจสอบจุดบัดกรีให้เรียบร้อยทุกจุด
  3. ทดสอบการทำงานของวงจร โดยการต่อไฟซัพพลายให้วงจร แล้วสังเกตดูหลอด LED จะติดพร้อมๆ กับได้ยิน เสียงคลิ๊ก แสดงว่ารีเลย์ทำงาน
  4. ทดลองต่อดีซีโวลต์เข้าที่จุด IN ของชุดป้องกันลำโพง หลอด LED จะดับพร้อมกับรีเลย์จะหยุดทำงานทันที หากไม่เป็นไปตามนี้ แสดงว่ามีข้อขัดข้องเกิดขึ้น ให้ตรวจสอบให้พบเสียก่อน จึงใช้ได้

วงจรควบคุมพัดลม ตามอุณหภูมิ

วงจรควบคุมพัดลม ตามอุณหภูมิ

                “พัดลม” ทุกคนก็คงจะรู้จักกัน และทุกครัวเรือนคงจะมีใช้ ไม่ว่าจะผลิตที่ไหน ราคาก็แพงมากนัก และเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ใช้ เพราะช่วยคลายร้อนได้ แต่ปัญหานี่สิ  ถ้าเราก็เปิดพัดลมทิ้งไว้แล้วนอนหลับตอนกลางคืน พอตกดึกแล้วอากาศเริ่มหนาว นอนตากพัดลมทั้งคืนอาจจะเป็นหวัดแน่ๆ เลย
                จะใช้เครื่องตั้งเวลา อาจจะไม่ชัวร์ เพราะบางทีอาจหมดเวลาที่ตั้งไว้แล้วอากาศยังร้อนอยู่ เผลอ ๆ กำลังหลับสบายอยู่เชียว ต้องตื่นมาเปิดพัดลมอีกรอบ เพราะฉะนั้นเรามาใช้อุณหภูมิควบคุมพัดลมดีกว่า
fan controller by temperature sensor using LM393

                วงจรที่นำมาเสนอก็คือ ใช้การเปลี่ยนอุณหภูมิเป็นแรงดันด้วยเทอร์มิสเตอร์ R4 และ IC1 ออปแอมป์จัดวงจรเป็นตัวเปรียบเทียบแรงดันจากเทอร์มิสเตอร์กับแรงดันอ้างอิง ใช้ผลจากการเปรียบเทียบไปควบคุม Q1 กับ Q2 และรีเลย์ RY1 ต่อไป
                การปรับแต่งไม่ยากอย่างที่คิด แต่ถ้าจะให้ง่ายจะต้องปรับแต่งกับเครื่องปรับอากาศ (แอร์) แล้วหาเทอร์โมมิเตอร์มาสักอัน
                ขั้นแรกนำเครื่องนี้วางไว้ในห้อง ให้ห่างจากช่องลมแอร์สักหน่อย แล้วปรับอุณหภูมิไปที่ high cool ดูที่เทอร์โมมิเตอร์ตจะอ่านได้ราว ๆ 24 องศาเซลเซียส ปรับ VR1 ไปสูงสุด รอประมาณ 2 นาทีจะเห็นว่า LED1 ดับ แสดงว่าขณะนี้รีเลย์ RY1 ทำงานแล้ว
                ขั้นต่อมาเราจะให้เครื่องควบคุมทำงาน เช่นทำงานที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส เมื่อไหร่พัดลมหยุดหมุน ก็ปรับเทอร์โมสตัสของแอร์ให้ลดลงมาเรื่อยจนถึง 26 องศาเซลเซียส จากนั้นปรับ VR1 ให้ลดค่าลงจนกระทั่งเห็น LED1 ติดสว่าง สรุปได้เลยว่า อุณหภูมิสูงกว่า 26 องศาเซลเซียสพัดลมหมุน ถ้าต่ำกว่าพัดลมจะหยุดหมุน
                เวลาจะใช้งานจริงก็ต่อพัดลมเข้าเต้าเสียบไปเลย เลื่อนสวิตช์ S1 ไปที่ on  ถ้าถึงอุณหภูมิที่กำหนดแล้ว พัดลมยังไม่หยุดอีก ให้เพิ่มค่า VR1 เล็กน้อย ถ้าอากาศร้อนแล้วพัดลมยังไม่หมุน ให้ลดค่า VR1ลงอีกนิด
                หากไม่ต้องการใช้เครื่องควบคุม ก็ให้เลื่อนสวิตช์มาที่ off  พัดลมจะถูกต่อเข้ากับไวสลับ 220 โวลต์โดยตรง ใช้แบบปกติได้
                เรื่องกินไฟไม่ต้องห่วง  เมื่อติดเครื่องควบคุมนี้แล้ว จะกินไฟน้อยมากเหมือนปกติสบายใจได้เลยครับ

ที่มา

Fan controller by temperature sensor using LM393


วงจรไอซีออปแอมป์

วงจรไอซีออปแอมป์

ท่านคงไม่ปฎิเสธว่าไอซีออปแอมป์มีประโยชน์ในงานเกี่ยวกับสัญญาณลิเนียร์มาก ด้วยคุณสมบัติพื้นฐานที่ช่วยขยายสัญญาณแบบต่างๆ ทั้งแบบป้อนกลับและแบบไม่ป้อนกลับ
ซึ่งสามารถนำประยุกต์ใช้เป็นวงจรผลิตความถี่, วงจรเปรียบเทียบกระแส, วงจรตรวจจับต่างๆ และ วงจรควบคุมต่างๆ


วงจรสวิตช์ปรับแต่งความดัง


Non – Inverting Amplifier by IC LM741


Basic Integrator by LM741


Buffer op-amp by IC LM741

ABU 2013

http://aburobocon2013.vtv.gov.vn/pic/files/dowload634806638404188086.pdf

ไมโครคอนโทรลเลอร์


ไมโครคอนโทรลเลอร์ (อังกฤษmicrocontroller มักย่อว่า µC, uC หรือ MCU) คือ อุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็ก ซึ่งบรรจุความสามารถที่คล้ายคลึงกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยในไมโครคอนโทรลเลอร์ได้รวมเอาซีพียูหน่วยความจำ และพอร์ต ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยทำการบรรจุเข้าไว้ในตัวถังเดียวกัน

[แก้]โครงสร้างทั่วไป

โครงสร้างโดยทั่วไป ของไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น สามารถแบ่งออกมาได้เป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
  1. หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit)
  2. หน่วยความจำ (Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หน่วยความจำที่มีไว้สำหรับเก็บโปรแกรมหลัก (Program Memory) เปรียบเสมือนฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คือข้อมูลใดๆ ที่ถูกเก็บไว้ในนี้จะไม่สูญหายไปแม้ไม่มีไฟเลี้ยง อีกส่วนหนึ่งคือหน่วยความจำข้อมูล (Data Memory) ใช้เป็นเหมือนกกระดาษทดในการคำนวณของซีพียู และเป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวขณะทำงาน แต่หากไม่มีไฟเลี้ยง ข้อมูลก็จะหายไปคล้ายกับหน่วยความแรม (RAM) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป แต่สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์สมัยใหม่ หน่วยความจำข้อมูลจะมีทั้งที่เป็นหน่วยความจำแรม ซึ่งข้อมูลจะหายไปเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง และเป็นอีอีพรอม(EEPROM : Erasable Electrically Read-Only Mempry) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้แม้ไม่มีไฟเลี้ยง
  3. ส่วนติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอก หรือพอร์ต (Port) มี 2 ลักษณะคือ พอร์ตอินพุต (Input Port) และพอร์ตส่งสัญญาณหรือพอร์ตเอาต์พุต (Output Port) ส่วนนี้จะใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก ใช้ร่วมกันระหว่างพอร์ตอินพุต เพื่อรับสัญญาณ อาจจะด้วยการกดสวิตช์ เพื่อนำไปประมวลผลและส่งไปพอร์ตเอาต์พุต เพื่อแสดงผลเช่น การติดสว่างของหลอดไฟ เป็นต้น
  4. ช่องทางเดินของสัญญาณ หรือบัส (BUS) คือเส้นทางการแลกเปลี่ยนสัญญาณข้อมูลระหว่าง ซีพียู หน่วยความจำและพอร์ต เป็นลักษณะของสายสัญญาณ จำนวนมากอยู่ภายในตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ โดยแบ่งเป็นบัสข้อมูล (Data Bus) , บัสแอดเดรส (Address Bus) และบัสควบคุม (Control Bus)
  5. วงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา นับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากอีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากการทำงานที่เกิดขึ้นในตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ จะขึ้นอยู่กับการกำหนดจังหวะ หากสัญญาณนาฬิกามีความถี่สูง จังหวะการทำงานก็จะสามารถทำได้ถี่ขึ้นส่งผลให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวนั้น มีความเร็วในการประมวลผลสูงตามไปด้วย

ไอซี 555


ไอซี 555 (อังกฤษIC 555) เป็นวงจรรวม หรือวงจรเบ็ดเสร็จ ที่เรียกกันทั่วไปว่า ชิป ที่รู้จักกันดีในบรรดานักอิเล็กทรอนิกส์ ไอซีตัวนี้ได้รับการออกแบบ และประดิษฐ์โดยนักออกแบบชิปที่มีชื่อเสียง ชื่อนั่นคือนายฮันส์ อาร์ คาเมนซินด์ (Hans R. Camenzind) โดยเริ่มออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2513 และแนะนำผลิตภัณฑ์ในปีถัดมา โดยบริษัทซิกเนติกส์ คอร์ปอเรชัน (Signetics Corporation) มีหมายเลขรุ่น SE555/NE555 และเรียกชื่อว่า "The IC Time Machine" มีการใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้งานง่าย ราคาถูก มีเสถียรภาพที่ดี ในปัจจุบันนี้ บริษัทซัมซุงของเกาหลี สามารถผลิตได้ปีละกว่า 1 พันล้านตัว (ข้อมูล พ.ศ. 2546)
ไอซีไทเมอร์ 555 นับเป็นวงจรรวมที่สามารถใช้งานได้หลากหลายและเป็นที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่งเท่าที่เคยผลิตมา ภายในตัวประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ 23 ตัว, ไดโอด 2 ตัว และรีซิสเตอร์อีก 16 ตัว เรียงกันบนชิปซิลิกอนแผ่นเดียว โดยติดตั้งในตัวถัง 8 ขา แบบมินิ DIP (dual-in-line package) นอกจากนี้ยังมีการผลิตไอซี 556 ซึ่งเป็น DIP แบบ 14 ขา โดยอาศัยการรวมไอซี 555 จำนวน 2 ตัวบนชิปตัวเดียว ขณะที่ 558 เป็นไอซีอีกตัวหนึ่งที่พัฒนาขึ้นจาก 555 เป็น DIP แบบ 16 ขา (quad) โดยรวมเอา 555 จำนวน 4 ตัว (โดยมีการปรับแต่งเล็กน้อย) มาไว้บนชิปตัวเดียว (DIS และ THR มีการเชื่อมต่อกันภายใน ส่วน TR นั้นมีค่าความไวที่ขอบแทนที่จะเป็นความไวทั้งระดับ) นอกจากนี้ยังมีรุ่นกำลังต่ำพิเศษ (ultra-low power) ของไอซี 555 นั่นคือ เบอร์ 7555 สำหรับไอซี 7555 นี้จะมีการเดินสายที่แตกต่างไปเล็กน้อย ทั้งยังมีการใช้กำลังไฟที่น้อยกว่า และอุปกรณ์ภายนอกน้อยกว่าด้วย
ไอซี 555 มีโหมดการทำงาน 3 โหมด ดังนี้
  • โมโนสเตเบิล (Monostable) ในโหมดนี้ การทำงานของ 555 จะเป็นแบบซิงเกิ้ลช็อต หรือวันช็อต (one-shot) โดยการสร้างสัญญาณครั้งเดียว ประยุกต์การใช้งานสำหรับการนับเวลา การตรวจสอบพัลส์ สวิตช์สัมผัส ฯลฯ
  • อะสเตเบิล (Astable) ในโหมดนี้ การทำงานจะเป็นออสซิลเลเตอร์ การใช้งาน ได้แก่ ทำไฟกะพริบ, กำเนิดพัลส์, กำเนิดเสียง, เตือนภัย ฯลฯ
  • ไบสเตเบิล (Bistable) ในโหมดนี้ ไอซี 555 สามารถทำงานเป็นฟลิปฟล็อป (flip-flop) ถ้าไม่ต่อขา DIS และไม่ใช้คาปาซิเตอร์ ใช้เป็นสวิตช์ bouncefree latched switches เป็นต้น

[แก้]การใช้งาน

ขาของไอซีแต่ละขา มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
ขาชื่อหน้าที่
1GNDกราวด์ หรือ คอมมอนส์
2TRพัลส์สั้นกระตุ้นทริกเกอร์เพื่อเริ่มนับเวลา
3Qช่วงการนับเวลา เอาต์พุตจะอยู่ที่ +VCC
4Rช่วงเวลานับ อาจหยุดโดยการใช้พัลส์รีเซ็ต
5CVแรงดันควบคุมยอมให้เข้าถึงตัวหารแรงดันภายใน (2/3 VCC)
6THRเทรสโฮลด์ที่จุดช่วงเวลานับ
7DISเชื่อมต่อกับคาปาซิเตอร์ตัวหนึ่ง ซึ่งเวลาคายประจุของมันจะมีผลต่อช่วงเวลาการนับ
8V+, VCCแรงดันจ่ายไฟบวก ซึ่งต้องอยู่ในช่วง +5 ถึง + 15 V
เมื่อใช้คาปาซิเตอร์ และรีซิสเตอร์มาต่อร่วม จะสามารถปรับช่วงการตั้งเวลา (นั่นคือ ช่วงเวลาที่เอาต์พุตมีค่าต่ำ) ตามความต้องการใช้งานได้
สำหรับการเชื่อมต่อเป็นดังนี้
Example  schematic
แผนผังการเชื่อมต่อไอซี 555
ช่วงเวลา t คำนวณได้จาก
t = 1.1RC
ซึ่งเป็นเวลาที่ใช้เพื่อประจุตัวเก็บประจุให้ได้ 63% ของแรงดันที่จ่าย (ค่าจริง : (1-1/e) V) ดูเพิ่มเติมที่ วงจรอาร์ซี (RC circuit) สำหรับคำอธิบายของปรากฏการณ์ดังกล่าว

แรงดันจ่าย (VCC)4.5 to 15 V
กระแสจ่ายต่ำสุด (VCC = +5 V)3 to 6 mA
กระแสจ่ายสูงสุด (VCC = +15 V)10 to 15 mA
กระแสขาออก (สูงสุด)200 mA
กำลังไฟฟ้า600 mW
อุณหภูมิการทำงาน0 to 70° C